โรคจอประสาทตาเสื่อม

โรคจอประสาทตาเสื่อม  หรือเรียกว่า ความเสื่อมของดวงตาจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น (AMD/ age-related macular degeneration)
เป็นสาเหตุสำคัญของการตาบอด โรคนี้เกิดจากการเสื่อมในบริเวณสำคัญของจอรับภาพ ที่เรียกว่า มาคูลา ลูเตีย
อาการ อาจแสดงอาการแตกต่างกันในคนไข้แต่ละคน และยากต่อการที่คนไข้ที่จะสังเกตความผิดปกติในการมองเห็นด้วยตนเองตั้งแต่ ระยะเริ่มแรก โดยเฉพาะในคนที่ตาผิดปกติข้างเดียว เช่น อาการคือ มองตรงกลางภาพไม่ชัด ส่วนกลางของภาพที่มองขาดหายไป หรือมืดดำไป หรือภาพที่เห็นดูบิดเบี้ยวไป แต่มองเห็นบริเวณด้านข้างภาพหรือรอบนอกได้ไปจนกว่าจะบอด ยกเว้นแต่ว่าจะเกิดโรคแบบเปียก ซึ่งมีอาการรุนแรงและการดำเนินโรคเร็ว ซึ่งต้องรีบพบแพทย์ทันที
ผู้ป่วยอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดตาเล็กน้อย ปวดมากขึ้นเมื่อกลอกลูกตา มีอาการทางสมองร่วมด้วย เช่น ปวดศีรษะ วิงเวียน สูญเสียการทรงตัว หากมีอาการน่าสงสัยดังกล่าว สามารถทดสอบด้วยตนเองด้วย การหากระดาษที่ขีดเส้นเป็นตารางดังในภาพและทำจุดตรงกลาง (หากไม่แน่ใจควรให้คนตาปกติดีทำให้)
1.     ปิดตาทีละข้าง จ้องมองที่จุดดำตรงกลาง
2.     ดูความคมชัดของเส้นตรง ทั้งแนวตั้งและแนวนอน
3.     ดูขนาดของช่องสี่เหลี่ยมว่าเท่ากันหรือบิดเบี้ยว
โรคจอประสาทตาเสื่อม มีลักษณะ 2 รูปแบบ คือ
1.     แบบแห้ง แบบนี้พบมาก จะมีการเสื่อมสลายและบางลงของจุดกลางรับภาพจอประสาทตาไปตามอายุที่เพิ่มมาก ขึ้น อาการจะปรากฎขึ้นอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป
2.     แบบเปียก พบน้อยราย แบบนี้จะมีลักษณะการเกิดรุนแรงและรวดเร็ว เกิดจากมีเส้นเลือดผิดปกติงอกอยู่ใต้จอประสาทตา และมีการรั่วซึมของเลือดและสารเหลวจากเส้นเลือดเหล่านี้ ทำให้จุดกลางรับภาพบวม ทำให้เห็นภาพตรงกลางบิดเบี้ยว และตาบอดในที่สุด
สาเหตุ เชื่อว่าเกิดจากการขาดสารอาหารที่สำคัญต่อดวงตา คือ คาโรทีนอยด์ เช่น ลูทีน และซีแซนทีน เป็นต้น ซึ่งมีมากในอาหารจำพวกข้าวโพดและผักใบเขียว
ปัจจัยเสี่ยง

·        อายุมากกว่า 60 ปี

·        ใช้สายตามาก

·        คนที่มีสายตาสั้นมากๆ

·        โรคติดเชื้อบางอย่าง

·        พันธุกรรม ประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้

·        การสูบบุหรี่

·        ความดันโลหิตสูง ไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดสูง
การรักษา เนื่องจากการพบโรคตั้งแต่ระยะแรกเริ่มเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดเพราะว่าจอ ประสาทตาที่เสื่อมไปแล้ว มีแต่จะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้ที่มีความเสี่ยงควรพบจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อการตรวจหาโรคในระยะเริ่มแรกที่ยังไม่แสดงอาการ การรักษาในปัจจุบันทำได้เพียงหยุดหรือชะลอการเสื่อมของจอประสาทตาให้ช้าที่ สุด มีการทดลองนวดตาเพื่อรักษา ปรากฎว่าใช้ได้ผลดีพอสมควรและมีการใช้สารอาหารเพื่อชะลอโรคไม่ให้เป็นมาก ขึ้นได้
สำหรับโรคจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก สามารถรักษาได้ด้วยยา (Lucentis Macugen หรือ Avastin) เพื่อทำลายหรือหยุดการสร้างเส้นเลือดดังกล่าว หรือโดยใช้แสงเลเซอร์ สำหรับคนทั่วไปและผู้ที่เป็นแล้วจึงควรป้องกันโดยการรับประทานอาหารให้ครบ หมู่ มีสารต้านอนุมูลอิสระ โดยเฉพาะลูทีนและซีแซนทีน กลูตาไทโอน คาโรทีนอยด์ สังกะสี วิตามินเอ และต้องรู้จักถนอมดวงตา เช่น ไม่ใช้สายตามากเกินไป หลีกเลี่ยงการโดนลม ใช้แว่นกันแดด ระวังไม่ให้เกิดโรคของตา