โรคตาบอดตอนกลางคืน

อาการ มองเห็นไม่ค่อยชัดที่แสงสลัวและในเวลากลางคืน ลักษณะเยื่อบุตาแห้ง เริ่มแห้งจากขอบด้านข้าง

ต่อมาเยื่อบุตาจะหนาตัวขึ้นและมีเกล็ดสีขาว (เกล็ดกระดี่) สภาพผิวของตาดำแห้ง อาจจะพบได้ที่ตาทั้งสองข้าง หรือข้างใดข้างหนึ่ง การที่ตาแห้งจะเสี่ยงต่อการมีแผลที่ตา เกิดรอยถลอกและเกิดการอักเสบ หากปล่อยทิ้งไว้กระจกตาเหลวและขุ่นเป็นฝ้า ซึ่งอาจจะทำให้กระจกตามีลักษณะโปนออกมาหรือยุบเข้าไป และต่อมาตาข้างนั้นจะใช้ไม่ได้เลย กลายเป็นตาบอดแบบถาวร
สาเหตุ เกิดจากการขาดวิตามินเอ ซึ่งเป็นตัวสร้างรงควัตถุสีม่วงในตา เรียกว่า โรดอปซิน ที่มีความไวต่อแสง เมื่อโรดอปซินน้อยลง ตาจะตอบสนองต่อแสงน้อยลง การมองเห็นในที่แสงน้อยจึงด้อยกว่าคนปกติ สมัยก่อนมักพบโรคนี้ในเด็กแรกเกิดที่ถูกเลี้ยงด้วยนมข้นหวานหรือหางนม และในเด็กที่ทานแต่กล้วยบด แต่ปัจจุบันมีมากในผักใบเขียว ผักสีส้ม ผลไม้สีส้ม ลักษณะของผู้ที่ขาดวิตามินเอปรากฎที่ผิวหนังด้วย คือ ผิวหนังแห้ง หยาบ ขุรขระ มักเป็นบริเวณหัวเข่าและหน้าแข็ง 2 ข้าง ก่อนบริเวณอื่นๆ
 
การรักษา แพทย์จะให้วิตามินเอ วันละ 25,000 หน่วยสากล และเน้นอาหารที่มีเบตาคาโรทีนสูง อาหารสังกะสีสูง วันละ 15-30 มิลลิกรัม และเนื่องจากคนทุกเพศทุกวัยต้องการวิตามินเอ จึงควรทานอาหารที่มีวิตามินเอทุกวัน และทานปลาทะเลก็มีวิตามินเอ จึงควรทานอาหารที่มีวิตามินเอทุกวัน และทานปลาทะเลก็มีวิตามินเอ ซึ่งควรทานสัปดาห์ละ 2 ครั้ง