โรคตาแห้ง

อาการ ตาแห้ง เคืองตา เมื่อใช้งานไปในระยะสั้น แสบตา บางครั้งมีน้ำตาไหลมาก ในบางคนเป็นมากจะมอง

เห็นตาแดงๆ การที่ตาแห้งมากจะเสี่ยงต่อการเกิดแผลถลอกที่กระจกตา และทำให้ตาอักเสบได้ น้ำตามีประโยชน์ในการหล่อลื่นดวงตา ให้สารอาหารและกำจัดเชื้อโรครวมถึงสิ่งแแปลกปลอม น้ำตาของคนเรามี 3 ชั้น ชั้นในสุดที่ติดกับแก้วตาจะเป็นเมือก ชั้นกลางเป็นน้ำ เป็นชั้นที่ให้สารอาหารและออกซิเจนหล่อเลี้ยงแก้วตา ส่วนชั้นนอก เป็นไขมันป้องกันการระเหยของน้ำตา โดยมีต่อมผลิตน้ำตาที่เป็นเซลล์เล็กๆ ซึ่งฝังตัวอยู่บริเวณเยื่อเมือกที่คลุมตาขาวและด้านในของเปลือกตา
ตาแห้ง คือ การที่ปริมาณน้ำตาที่มาหล่อเลี้ยง ให้ความชุ่มชื่นกับดวงตาเคลือบกระจกตาดำไม่พอ พบในผู้ป่วยทุกเพศทุกวัย แต่ที่พบบ่อยมากในผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือน
 
สาเหตุ

  • สภาพอากาศร้อน อากาศแห้ง ลมแรง ลมจากเครื่องปรับอากาศ
  • ควันบุหรี่
  • การใส่คอนแทกเลนส์
  • การขาดวิตามินเอ
  • การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาคลายเครียดบางชนิด ยาแก้แพ้บางชนิด ยาลดความดันโลหิต เป็นต้น
  • คนสูงอายุที่มีการขับน้ำตาออกมาน้อยตามธรรมชาติ โดยเฉพาะผู้หญิงจะพบได้บ่อยกว่าผู้ชาย
  • การใช้งานมาก อ่านหนังสือหรือทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน

การรักษา แพทย์มักให้น้ำตาเทียมมาหยอดเองทุกวัน เพื่อหล่อลื่นดวงตา ลดอาการระคายเคือง อาจได้ทั้งชนิดเยลและชนิดน้ำมาใช้ควบคู่กัน สำหรับน้ำตาเทียมนั้นมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบที่มีสารกันบูด และแบบไม่ใส่สารกันบูด แบบแรกควรใช้ไม่เกินวันละ 5 ครั้ง และสำหรับผู้ที่แพ้สารกันบูดที่มีอาการแสบแดงหรือเคืองตา ควรเลือกชนิดที่ไม่มีสารกันบูด ซึ่งจะต้องใช้ภายใน 12-18 ชั่วโมง ภายหลังเปิดบรรจุภัณฑ์แล้ว

ในรายที่เป็นมากแพทย์อาจปิดท่อระบายน้ำตา ทำให้มีน้ำตาหล่อเลี้ยงตาเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ควรดูแลตนเองโดยดื่มน้ำมากๆ บ่อยๆ เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในร่างกาย เวลาอ่านหนังสือหรือทำงานกับคอมพิวเตอร์นานให้กะพริบตาบ่อยๆ อย่าใช้สายตาต่อเนื่องยาวนาน รวมทั้งหลีกเลี่ยงการขยี้ตา

โรคตาบอดตอนกลางคืน

อาการ มองเห็นไม่ค่อยชัดที่แสงสลัวและในเวลากลางคืน ลักษณะเยื่อบุตาแห้ง เริ่มแห้งจากขอบด้านข้าง

ต่อมาเยื่อบุตาจะหนาตัวขึ้นและมีเกล็ดสีขาว (เกล็ดกระดี่) สภาพผิวของตาดำแห้ง อาจจะพบได้ที่ตาทั้งสองข้าง หรือข้างใดข้างหนึ่ง การที่ตาแห้งจะเสี่ยงต่อการมีแผลที่ตา เกิดรอยถลอกและเกิดการอักเสบ หากปล่อยทิ้งไว้กระจกตาเหลวและขุ่นเป็นฝ้า ซึ่งอาจจะทำให้กระจกตามีลักษณะโปนออกมาหรือยุบเข้าไป และต่อมาตาข้างนั้นจะใช้ไม่ได้เลย กลายเป็นตาบอดแบบถาวร
สาเหตุ เกิดจากการขาดวิตามินเอ ซึ่งเป็นตัวสร้างรงควัตถุสีม่วงในตา เรียกว่า โรดอปซิน ที่มีความไวต่อแสง เมื่อโรดอปซินน้อยลง ตาจะตอบสนองต่อแสงน้อยลง การมองเห็นในที่แสงน้อยจึงด้อยกว่าคนปกติ สมัยก่อนมักพบโรคนี้ในเด็กแรกเกิดที่ถูกเลี้ยงด้วยนมข้นหวานหรือหางนม และในเด็กที่ทานแต่กล้วยบด แต่ปัจจุบันมีมากในผักใบเขียว ผักสีส้ม ผลไม้สีส้ม ลักษณะของผู้ที่ขาดวิตามินเอปรากฎที่ผิวหนังด้วย คือ ผิวหนังแห้ง หยาบ ขุรขระ มักเป็นบริเวณหัวเข่าและหน้าแข็ง 2 ข้าง ก่อนบริเวณอื่นๆ
 
การรักษา แพทย์จะให้วิตามินเอ วันละ 25,000 หน่วยสากล และเน้นอาหารที่มีเบตาคาโรทีนสูง อาหารสังกะสีสูง วันละ 15-30 มิลลิกรัม และเนื่องจากคนทุกเพศทุกวัยต้องการวิตามินเอ จึงควรทานอาหารที่มีวิตามินเอทุกวัน และทานปลาทะเลก็มีวิตามินเอ จึงควรทานอาหารที่มีวิตามินเอทุกวัน และทานปลาทะเลก็มีวิตามินเอ ซึ่งควรทานสัปดาห์ละ 2 ครั้ง

โรคมะเร็งจอประสาทตา

เป็นมะเร็งในลูกตา เด็กที่พบบ่อยที่สุดมีบางส่วนที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ดังนั้นในครอบครัวที่มีญาติพี่น้อง

เป็นโรคควรจะได้รับการตรวจหรือสังเกตอย่างใกล้ชิด มะเร็งจอประสาทตามักพบในเด็ก สามารถเป็นได้ตั้งแต่เกิด มักพบในเด็กที่มีอายุระหว่าง 1-3 ปี และจะพบได้น้อยมาก ที่เริ่มเป็นมะเร็งจอประสาทตาหลังอายุ 7 ปีไปแล้ว ในผู้ใหญ่ไม่มี
อาการ ระยะเริ่มแรกอาจจะไม่พบความผิดปกติเลยก็ได้หรือที่สังเกตพบได้บ่อยที่สุดก็ คือ ตาของเด็กมีจุดขาววาว ปรากฎตรงบริเวณรูม่านตา จะเห็นตาเด็กวาวๆ ชัดเจนในตอนกลางคืน โดยเด็กไม่มีอาการเจ็บปวดเลย ถ้ามะเร็งลุกลามมากขึ้นอาจจะมีตาเข ตาอักเสบ ต้อหิน ตาโปน เลือดออกในช่องลูกตา มีก้อนเนื้องอกหรือมีลูกตาสั่น
การรักษา หากผู้ปกครองสังเกตความผิดปกติได้เร็ว ทำให้การวินิจฉัยรักษาได้เ็ร็วก็จะมีผลการรักษาที่ดี กล่าวคือ ถ้าในระยะที่ก้อนเนื้อมะเร็งยังเล็กจะใช้ความเย็นจี้หรือยิงด้วยเลเซอร์ให้ ก้อนเนื้อฝ่อลง แต่ส่วนใหญ่ที่พบคือผู้ป่วยเด็กมักจะมาพบจักษุแพทย์เมื่อก้อนมะเร็งลุกลามโต เต็มลูกตาแล้ว ซึ่งอยู่ในระยะที่ต้องใช้เคมีบำบัดเพื่อให้ก้อนเนื้อหดตัว แต่หากมีเซลล์มะเร็งมากจนเกินกว่าจะเก็บลูกตาเอาไว้ก็จำเป็จะต้องเอาออก เพื่อมิให้เซลล์มะเร็งลามไปที่สมองและส่วนอื่นๆ

โรคจอประสาทตาเสื่อม

โรคจอประสาทตาเสื่อม  หรือเรียกว่า ความเสื่อมของดวงตาจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น (AMD/ age-related macular degeneration)
เป็นสาเหตุสำคัญของการตาบอด โรคนี้เกิดจากการเสื่อมในบริเวณสำคัญของจอรับภาพ ที่เรียกว่า มาคูลา ลูเตีย
อาการ อาจแสดงอาการแตกต่างกันในคนไข้แต่ละคน และยากต่อการที่คนไข้ที่จะสังเกตความผิดปกติในการมองเห็นด้วยตนเองตั้งแต่ ระยะเริ่มแรก โดยเฉพาะในคนที่ตาผิดปกติข้างเดียว เช่น อาการคือ มองตรงกลางภาพไม่ชัด ส่วนกลางของภาพที่มองขาดหายไป หรือมืดดำไป หรือภาพที่เห็นดูบิดเบี้ยวไป แต่มองเห็นบริเวณด้านข้างภาพหรือรอบนอกได้ไปจนกว่าจะบอด ยกเว้นแต่ว่าจะเกิดโรคแบบเปียก ซึ่งมีอาการรุนแรงและการดำเนินโรคเร็ว ซึ่งต้องรีบพบแพทย์ทันที
ผู้ป่วยอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดตาเล็กน้อย ปวดมากขึ้นเมื่อกลอกลูกตา มีอาการทางสมองร่วมด้วย เช่น ปวดศีรษะ วิงเวียน สูญเสียการทรงตัว หากมีอาการน่าสงสัยดังกล่าว สามารถทดสอบด้วยตนเองด้วย การหากระดาษที่ขีดเส้นเป็นตารางดังในภาพและทำจุดตรงกลาง (หากไม่แน่ใจควรให้คนตาปกติดีทำให้)
1.     ปิดตาทีละข้าง จ้องมองที่จุดดำตรงกลาง
2.     ดูความคมชัดของเส้นตรง ทั้งแนวตั้งและแนวนอน
3.     ดูขนาดของช่องสี่เหลี่ยมว่าเท่ากันหรือบิดเบี้ยว
โรคจอประสาทตาเสื่อม มีลักษณะ 2 รูปแบบ คือ
1.     แบบแห้ง แบบนี้พบมาก จะมีการเสื่อมสลายและบางลงของจุดกลางรับภาพจอประสาทตาไปตามอายุที่เพิ่มมาก ขึ้น อาการจะปรากฎขึ้นอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป
2.     แบบเปียก พบน้อยราย แบบนี้จะมีลักษณะการเกิดรุนแรงและรวดเร็ว เกิดจากมีเส้นเลือดผิดปกติงอกอยู่ใต้จอประสาทตา และมีการรั่วซึมของเลือดและสารเหลวจากเส้นเลือดเหล่านี้ ทำให้จุดกลางรับภาพบวม ทำให้เห็นภาพตรงกลางบิดเบี้ยว และตาบอดในที่สุด
สาเหตุ เชื่อว่าเกิดจากการขาดสารอาหารที่สำคัญต่อดวงตา คือ คาโรทีนอยด์ เช่น ลูทีน และซีแซนทีน เป็นต้น ซึ่งมีมากในอาหารจำพวกข้าวโพดและผักใบเขียว
ปัจจัยเสี่ยง

·        อายุมากกว่า 60 ปี

·        ใช้สายตามาก

·        คนที่มีสายตาสั้นมากๆ

·        โรคติดเชื้อบางอย่าง

·        พันธุกรรม ประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้

·        การสูบบุหรี่

·        ความดันโลหิตสูง ไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดสูง
การรักษา เนื่องจากการพบโรคตั้งแต่ระยะแรกเริ่มเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดเพราะว่าจอ ประสาทตาที่เสื่อมไปแล้ว มีแต่จะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้ที่มีความเสี่ยงควรพบจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อการตรวจหาโรคในระยะเริ่มแรกที่ยังไม่แสดงอาการ การรักษาในปัจจุบันทำได้เพียงหยุดหรือชะลอการเสื่อมของจอประสาทตาให้ช้าที่ สุด มีการทดลองนวดตาเพื่อรักษา ปรากฎว่าใช้ได้ผลดีพอสมควรและมีการใช้สารอาหารเพื่อชะลอโรคไม่ให้เป็นมาก ขึ้นได้
สำหรับโรคจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก สามารถรักษาได้ด้วยยา (Lucentis Macugen หรือ Avastin) เพื่อทำลายหรือหยุดการสร้างเส้นเลือดดังกล่าว หรือโดยใช้แสงเลเซอร์ สำหรับคนทั่วไปและผู้ที่เป็นแล้วจึงควรป้องกันโดยการรับประทานอาหารให้ครบ หมู่ มีสารต้านอนุมูลอิสระ โดยเฉพาะลูทีนและซีแซนทีน กลูตาไทโอน คาโรทีนอยด์ สังกะสี วิตามินเอ และต้องรู้จักถนอมดวงตา เช่น ไม่ใช้สายตามากเกินไป หลีกเลี่ยงการโดนลม ใช้แว่นกันแดด ระวังไม่ให้เกิดโรคของตา

โรคต้อหิน

อาการ ปวดรอบกระบอกตาอย่างมาก ปวดลามไปถึงศีรษะและการมองเห็นไม่ชัดเจน คือเห็นเฉพาะด้านหน้า
แต่บริเวณรอบๆ หรือด้านข้างจะไม่เห็น เรียกว่า 'ลานสายตาแคบ' ดังเช่นในภาพ บางรายเห็นแสงสีรุ้งรอบดวงไฟ อาการลานสายตาแคบจะค่อยๆ เป็นโดยที่ผู้ป่วยไม่รู้ตัว ทำให้ไม่ได้ไปรับการรักษา โดยมากมักจะเป็นต้อหินกับตาทั้งสองข้าง โดยเริ่มจากตาข้างใดข้างหนึ่งก่อน เมื่อส่องกระจกเห็นดวงตามีสีเขียวเทา ขุ่นมัว หลับตาแล้วลูบคลำ ดวงตาจะรู้สึกว่าตาแข็งเหมือนลูกแก้ว จึงเป็นที่มาของคำว่า "ต้อหิน" ต้นหินเป็นภาวะที่เกิดจากความดันในลูกตาสูงขึ้น และมีการเสื่อมของประสาทตาและสูญเสียการมองเห็น ความดันในตาที่สูงจะกดดันเส้นประสาทตาให้เสื่อม
ปัจจัยเสี่ยงของต้อหิน
·        มีการใช้ยาสเตียรอยด์เป็นประจำ
·        อายุมากกว่า 60 ปี
·        สายตาสั้นมาก
·        ดวงตาเคยเป็นแผล
·        มีโรคเบาหวาน
·        มีเส้นเลือดอุดตันเรื้อรังในดวงตา
·        เป็นต้อกระจกมาก่อน
·        มีคนในครอบครัวเป็นต้อหิน
เมื่อประสาทตาเสื่อมลงเรื่อยๆ ตาจะบอดภายในเวลาไม่นาน ต้อหินเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กลายเป็นตาบอดได้มาก
การรักษา หากตรวจพบเมื่อเริ่มแรกเป็นแพทย์จะให้ยาลดความดันในลูกตา มีทั้งยาชนิดรับประทานและยาหยอดตา โดยลดการสร้างของเหลวในด้านหน้าลูกตา หรือไปช่วยการไหลของของเหลวนี้ออกจากลูกตา ที่สำคัญคือ ต้องใช้ยาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมความดันลูกตาอย่างต่อเนื่อง ไม่ให้ไปทำลายขั้วประสาทตาและลานสายตารวมทั้งการมองเห็น ในรายที่เป็นมากจะทำการผ่าตัดด้วยเลเซอร์เพื่อเปิดทางระบายน้ำเลี้ยงตาที่ ถูกปิดกั้นไว้จนเกิดความดันในลูกตาสูง บางรายอาจต้องผ่าตัดด้วยมีดเป็นการผ่าตัดเปิดทางให้ของเหลวไหลออกจากตาได้ อย่างสะดวก ซึ่งมักจะทำเฉพาะในผู้ป่วยที่ไม่สามารถใช้วิธีอื่นๆ
โรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการตรวจคัดกรองโรคต้อหิน ซึ่งควรเริ่มตรวจตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ควรสังเกตตนเองหากมีอาการปวดตาหรือมีความผิดปกติที่ดวงตาควรรีบไป พบจักษุแพทย์ สำหรับผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี ควรได้รับการตรวจคัดกรองโรคต้อหินทุก 2 ปี ที่สำคัญคือ เมื่อแพทย์ตรวจพบเป็นต้อหินในระยะแรกๆ นั้น สายตาจะยังปกติอยู่ ไม่มีอาการปวดหรือผิดปกติใดๆ แต่เมื่อปล่อยให้โรคนี้ลุกลามแล้วผู้ป่วยจึงจะเริ่มรู้สึกถึงการมองเห็นที่ เปลี่ยนไป โดยจะมองเห็นวัตถุที่อยู่ข้างหน้าได้ชัดดี แต่จะไม่เห็นวัตถุที่อยู่ข้างๆ ดังนั้นต้องให้การใส่ใจกับการตรวจ